เมนู

ในเวลายังมีชีวิตนั่นเอง มีฝีโรคเรื้อนและต่อม หรือแผลแตกพรุนทั่วไป, แม้
ศพนี้ชื่อว่า แตกแล้ว. ตั้งแต่วันที่ 3 ไป แม้สรีระที่ถึงความเป็นซากศพ โดย
เป็นศพที่ขึ้นพองเป็นต้น จัดว่าเป็นศพที่แตกแล้วโดยแท้.
อนึ่ง แม้ในศพที่ยังไม่แตกโดยประการทั้งปวง แต่คนผู้ดูแลป่าช้า
หรือมนุษย์เหล่าอื่นให้ถือเอา ควรอยู่ ถ้าไม่ได้มนุษย์อื่น, ควรจะเอาศัสตรา
หรือวัตถุอะไรทำให้เป็นแผลแล้ว จึงถือเอา. แต่ในศพเพศตรงกันข้าม ภิกษุ
ควรตั้งสติไว้ ประคองสมณสัญญาให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นแผลที่ศีรษะ หรือที่
หลังมือและหลังเท้าแล้วถือเอาสมควรอยู่.
ในเรื่องอัน เป็นลำดับแห่งสรีระยังไม่แตกนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
หลายบทว่า กุสํ สงฺกาเมตฺวา จีวรํ อคฺคเหสิ มีความว่า ภิกษุ
ลักด้วยกุสาวหาร ในบรรดาเถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปริกัปปาวหาร ปฏิจ-
ฉันนาวหารและกุสาวหาร ซึ่งได้แสดงไว้แล้วแต่เพียงชื่อ ในการพรรณนาเนื้อ
ความแห่งบทนี้ว่า อาทิเยยฺย ในเบื้องต้น. และพึงทราบความต่างกันแห่ง
อวหารเหล่านี้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้:-

[

อรรถาธิบายอวหาร 5 อย่าง

]
จริงอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น
ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน หรือหลอกลวงฉ้อเอา
ด้วยเครื่องตวงโกง และกหาปณะปลอมเป็นต้น, อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล
ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร, ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น
คือ กดขี่เอาด้วยกำลัง, ก็หรือขู่กรรโซก คือ แสดงภัย ถือเอาทรัพย์เป็นของ
ชนเหล่านั้น เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม มีฆ่าคนเดินทาง
และฆ่าชาวบ้านเป็นต้น (และ) เหมือนอิสรชน มีพระราชาและมหาอำมาตย์

ของพระราชาเป็นต้น ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่น ด้วยอำนาจความโกรธ
และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน, อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอา
อย่างนั้น พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมาย
ไว้แล้วถือเอา ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร. ปริกัปปาวหารนั้น มี 2 อย่าง
เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.

[

อรรถาธิบายภัณฑปริกัป

]
ใน 2 อย่างนั้น ภัณฑปริกัป พึงทราบอย่างนี้:- ภิกษุบางรูปใน
ศาสนานี้ มีความต้องการด้วยผ้าสาฎก จึงเข้าไปยังห้อง หมายใจไว้ว่า ถ้า
จักเป็นผ้าสาฎก, เราจักถือเอา, ถ้าจักเป็นด้าย, เราจักไม่ถือเอา แล้วถือเอา
กระสอบไปในเวลากลางคืน. ถ้าในกระสอบนั้น มีผ้าสาฎก, เป็นปาราชิก
ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง ถ้ามีด้าย ยังรักษาอยู่. เธอนำออกไปข้างนอก แก้ออก
รู้ว่า เป็นด้าย นำมาวางไว้ยังที่เติมอีก, ยังรักษาอยู่เหมือนกัน, แม้รู้ว่า เป็น
ด้าย แล้วเดินไปด้วยคิดว่า ได้สิ่งใด ก็ต้องถือเอาสิ่งนั้น พึงปรับอาบัติด้วย
ย่างเท้า วางไว้บนภาคพื้นแล้ว ถือเอา, ต้องปาราชิก ในขณะที่ยกขึ้น. เธอ
ถูกพวกเจ้าของเขาร้องเอะอะขึ้นว่า ขโมย ขโมย แล้วทั้งหนีไป ยังรักษาอยู่.
พวกเจ้าของพบแล้วถือเอาไป อย่างนั้นนั่นเป็นการดี ถ้าคนอื่นบางคนถือเอา
เป็นภัณฑไทยแก่เธอ. ภายหลังเมื่อพวกเจ้าของกลับไปแล้ว เธอเห็นของนั้น
เข้าเองจึงถือเอา ด้วยคิดว่า ของนี้ เรานำออกมาก่อน บัดนี้ เป็นของ ๆ
เราละดังนี้ ยังรักษาอยู่ แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุกำหนดหมายไว้แล้ว
ถือเอา โดยนัยเป็นต้นว่า ถ้าจักเป็นด้าย เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก
เราจักไม่ถือเอา ถ้าจักเป็นเนยใส เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นน้ำมัน เราจักไม่
ถือเอา ดังนี้ มีนัยเหมือนกันนั่นแล.